|
|
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนตามตัวแปร เพศ ระดับชั้น และสังกัดโรงเรียน และศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนและวิธีการที่ครูช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 1,450 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบ่งชั้นของประชากรทั้งหมด ครูประจำชั้น จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา แบบสอบถามครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนและวิธีการที่ครูช่วยเหลือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิธีการทดสอบเป็นรายคู่ SNK (Student Newman Keul) (t – test) และสถิติไค – แสควร์ (Chi – Square)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การศึกษาปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนประสบปัญหาดังนี้ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ด้านอารมณ์ ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านการคบเพื่อน ด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน ปัญหาทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง
2. นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร เมื่อประสบปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองมากที่สุด รองลงมาวิธีการแก้ปัญหาโดยพึ่งพาผู้อื่น และแก้ปัญหาโดยการหลีกเลี่ยงปัญหาน้อยที่สุด
3. นักเรียนเพศชายและหญิง ประสบปัญหาด้านการเรียน ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว
ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อนไม่แตกต่างกัน
ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
4. นักเรียนระดับชั้นต่างกัน ประสบปัญหาด้านการเรียน และด้านสุขภาพแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
5. นักเรียนสังกัดโรงเรียนต่างกัน ประสบปัญหาด้านการเรียนไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3
6. นักเรียนเพศชายและหญิงเมื่อประสบปัญหาด้านการเรียน ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน มีวิธีการแก้ปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4
7. นักเรียนระดับชั้นต่างกันเมื่อประสบปัญหาด้านการเรียน ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อนมีวิธีการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 5
8. นักเรียนสังกัดโรงเรียนต่างกันเมื่อประสบปัญหาด้านการเรียน ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านการคบเพื่อน ด้านอารมณ์ และด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน มีวิธีการแก้ปัญหาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 6
9. การศึกษาความคิดเห็นของครูกับการมองปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคลพบว่า ครูมองปัญหาสอดคล้องกับนักเรียนทุกปัญหา
10. การศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครพบว่า ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาด้านการคบเพื่อน
11. การศึกษาวิธีการที่ครูช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาด้านการเรียน พบว่า ครูส่วนใหญ่ช่วยเหลือนักเรียนดังต่อไปนี้ อธิบายเพิ่มเติมหลาย ๆ ครั้ง และมีอุปกรณ์การสอนสอนซ่อมเสริมเป็น รายบุคคล เพื่อช่วยเพื่อน สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง แนะนำการวางแผนการเรียน
12. การศึกษาวิธีการที่ครูช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว พบว่า ครูส่วนใหญ่ช่วยเหลือนักเรียน ดังต่อไปนี้ เชิญผู้ปกครองมาพบแนะนำและหาแนวทางแก้ไข ปลอบโยนให้กำลังใจ เยี่ยมบ้าน อบรมสั่งสอนเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว
13. การศึกษาวิธีการที่ครูช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ พบว่าครูส่วนใหญ่ช่วยเหลือนักเรียน ดังต่อไปนี้ อบรมสั่งสอนแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพ ทางโรงเรียนจัดตรวจสุขภาพทุกปี มีแพทย์พยาบาลมาฉีดวัคซีน โครงการอาหารกลางวันนม และดูแลอย่างใกล้ชิด
|
|
|