การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาไทย และความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนอย่างสร้างสรรค์ กับแบบฝึกตามคู่มือครูของกระทรวงศึกษาธิการ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2538 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2 ห้องเรียน จำนวน 110 คน ซึ่งได้โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 55 คน กลุ่มทดลองเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มควบคุมเรียนโดยใช้แบบฝึกตามคู่มือครูของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้เวลาในการทดลอง 15 คาบ สอนโดยใช้เนื้อหาในการทดลองเดียวกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกการเขียนอย่างสร้างสรรค์ กับแบบฝึกตามคู่มือครูของกระทรวงศึกษาธิการ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาไทย (มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .0816) และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาตามแนวของกิลฟอร์ด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบแผนการทดลองครั้งนี้คือ Randomized Control Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t – test
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|