การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถทางดนตรีของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญาระดับเรียนได้จากการฝึกเมโลเดี้ยน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับสติปัญญา 50-70 ไม่มีความพิการซ้ำซ้อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน แบบแผนการทดลองของการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการสอนการปฏิบัติเมโลเดี้ยนและแบบประเมินความสามารถทางดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test
ผลของการวิจัยพบว่า ความสามารถทางดนตรีของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนการฝึกเมโลเดี้ยนอยู่ในระดับควรปรับปรุง (มัธยฐานเท่ากับ 5.5 คะแนนจากคะแนนเต็ม 35 คะแนน) แต่หลังจากทำการฝึกเมโลเดี้ยนความสามารถทางดนตรีอยู่ในระดับดีมาก (มัธยฐานเท่ากับ 32.5 คะแนน) และสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
|