ความมุ่งหมายของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2540กรุงเทพฯ จำนวน 80 คน ที่มีข้อบกพร่องในหน่วยการเรียนเรื่องมุม โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 20 คนสุ่มเข้ากลุ่มโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมโดยกำหนดอัตราความก้าวหน้าในการเรียน 4 แบบ ตามแบบแผนการทดสอบ 2x2 Factorical Desing กลุ่มที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมแบบให้แก้ตัวใหม่ และเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมทั้งกำหนดอัตราความก้าวหน้าในการเรียน โดยผู้เรียน (a1 B2) กลุ่มที่ 3 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมแบบให้แก้ตัวใหม่ และเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมทั้งกำหนดอัตราความก้าวหน้าในการเรียน โดยใช้โปรแกรม (a1 b2) กลุ่มที่ 4 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนซ่อมเสริมแบบชี้แนะคำตอบให้แก้ตัวใหม่ และเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมทั้งกำหนดอัตราความก้าวหน้าในการเรียน โดยผู้เรียน (a1 b2) ก่อนการทดลอง นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) หลังการทดลองนักเรียนทำแบบทดสอบ (Posttest) แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบ 2 ทาง
(Two – WayAnalysis Covariance)
ผลการวิจัยพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสอนซ่อมเสริมกับรูปแบบการกำหนดอัตราความก้าวหน้าใน
การเรียนร่วมกันส่งผลทำให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยที่วิธีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมแบบชี้แนะคำตอบให้แก้ตัวใหม่และเฉลยคำตอบที่ถูก พร้อมทั้งถูกกำหนดอัตราความก้าวหน้าในการเรียนโดยโปรแกรมเป็นวิธีที่ดีที่สุด
|