ความมุ่งหมายของการวิจัยนี้เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจทางภาษาแบบประยุกต์ตามโครงสร้างทางสติปัญญา ของกิลฟอร์ด โดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยวิธีความน่าจะเป็นสูงสุดตามวิธีของโจเรสคอกและซอร์บอม (Joreskog and Sorrbom. 1989) และคำนวณค่าความเชื่อมั่นแบบคะแนนจริงสัมพันธ์ด้วยสูตรเฟลดต์ – ราชู (Feldt – Raju) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดนนทบุรี 10 โรงเรียนจำนวน 900 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจำนวน 500 คน กลุ่มที่ 2 ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 400 คน จากผลการศึกษาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทางภาษาแบบประยุกต์ทั้ง 5 ฉบับ คือ การให้ทางเลือก การทดสอบเครื่องมือเครื่องใช้ การตั้งคำถามให้ตรงกับเนื้อเรื่อง การมองเห็นความบกพร่องและการมองเห็นปัญหา โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่าแบบทดสอบแต่ละฉบับวัดองค์ประกอบร่วมกัน 5 ฉบับ มีความเที่ยงตรงในการวัดองค์ประกอบความรู้ ความเข้าใจทางภาษาและประยุกต์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าความเชื่อมั่นแบบคะแนนจริงสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง .784 - .887
|